LASTEST NEWS

09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคบางแสน รับสมัครพนักงานราชการครู 2 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 12-19 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยการอาชีพปราสาท รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-26 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรม รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 14-20 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-29 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 14-20 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-22 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-22 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ รับสมัครพนักงานราชการครู วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 25-29 พ.ย.2567 08 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่ 8 - 14 พฤศจิกายน 2567 08 พ.ย. 2567“สพฐ. ประชุม ผอ.เขตพื้นที่ พร้อมเปิดตัว “OBEC Zero Dropout” เพื่อเด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างถ้วนหน้า”

รายงานผลการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษา

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานผลการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษา
    ชั้นอนุบาลปีที่ 2

ชื่อผู้ศึกษา    นางสาวณัฐทพัสส์ ธรรมขันธ์

ปีที่ศึกษา    2560

บทคัดย่อ

    ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษาจำแนกรายพฤติกรรมและภาพรวมและเพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษาทั้งรายพฤติกรรมและภาพรวมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2โรงเรียนบ้านปางตองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2โรงเรียนบ้านปางตองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คนมีวิธีการดำเนินการศึกษาโดยใช้รูปแบบ การทดลองกับประชากรกลุ่มเดียว(One Group Pretest-Posttest Design)คือ ดำเนินการประเมินผลการพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษา แล้วสังเกตพฤติกรรมการพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ระหว่างการดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน จำนวน 27 แผน แล้วรวบรวมประมวลผลเป็นช่วงสัปดาห์ จำนวน 9 ครั้ง 9 สัปดาห์แล้วจึงทำการประเมินหลังการจัดกิจกรรม ด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กชุดเดียวกันเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา ได้แก่ ( 1 ) คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็กจำนวน 27 กิจกรรม ( 2 ) แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็กจำนวน 30 แผน( 3 ) แบบสังเกตพฤติกรรมการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กจำนวน 3 ชุด แล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาด้วยค่าเฉลี่ย (µ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าร้อยละ

สรุปผลการศึกษา

สรุปผลการศึกษา ดังนี้
    1. ผลการพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2โรงเรียนบ้านปางตอง ระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษา ช่วง 9 สัปดาห์จำแนกรายด้าน ได้แก่ ด้านการควบคุม การใช้กล้ามเนื้อเล็ก, ด้านความคล่องแคล่วของกล้ามเนื้อเล็ก, ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตานักเรียนมีพัฒนาการเริ่มจากสัปดาห์แรกอยู่ในระดับปรับปรุง (1.77, 1.85และ1.77 คะแนน ตามลำดับ) หลังจากนั้นมีพัฒนาการดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ จนถึงสัปดาห์ที่ 9 คะแนนอยู่ในระดับดี (2.94, 2.92และ 2.94 ตามลำดับ) ส่วนในภาพรวมการพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนมีพัฒนาการเริ่มจากสัปดาห์แรกอยู่ในระดับต้องปรับปรุง (1.80) และดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ จนถึงสัปดาห์ที่ 9 อยู่ในระดับดี (2.93) แสดงว่า ผลการพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษา ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้น
    2. ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษา พบว่า ทั้ง 3 ด้าน ก่อนการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.34 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 5.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.27 มีความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น2.37 และด้านความคล่องแคล่วของกล้ามเนื้อเล็ก ก่อนการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 3.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 5.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 มีความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.5ด้านการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ก่อนการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 2.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 5.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 มีความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.31 ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ก่อนการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 5.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 มีความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.31 แสดงว่าหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กดีกว่า ก่อนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะหรรษาซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^