การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ
ผู้รายงาน : นางมนัสดา ดำแก้ว
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)
ปีที่ศึกษา : ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้7 ขั้น (7E) เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 E) เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) จังหวัดสงขลา จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 E) เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต จำนวน 6 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 E) เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการคำนวณหาผลต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 E) เรื่องการสืบพันธุ์ ของพืชดอกและการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.61/82.26 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 E) เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เป็น 25.15 และคะแนนเฉลียก่อนเรียนเป็น 8.96 ค่าผลต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็น 16.19
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 E) เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45