การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดไทรอา
ผู้วิจัย นายสนธยา แตงโม ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) สังกัดเทศบาลเมืองโพธาราม
จังหวัดราชบุรี
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเหมาะสมของการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) ตามความคิดเห็นของครูนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) ก่อนและหลังการดําเนินงาน
ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน และ 4) เพื่อประเมินผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) ตามเกณฑ์ ร้อยละ 80 นักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1) ครู จำนวน 27 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 680 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีเกณฑ์ในการเลือกคือ เป็นนักเรียน และครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จำนวน 248 คน และด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม 2 ฉบับ และแบบประเมินผล 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. ครู นักเรียน และผู้ปกครองเห็นว่า การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยภาพรวมและรายด้าน เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รายด้านเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัย และด้านสภาพแวดล้อม
2. ก่อนการดําเนินงาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการดําเนินงานมีความพึงพอใจ
ต่อการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจหลังดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยภาพรวมและรายข้อ มากกว่าก่อนดําเนินการ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการพัฒนา ระหว่างการดําเนินงาน นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยภาพรวม ร้อยละ 52.45 ไม่บรรลุตามเกณฑ์พัฒนาร้อยละ 80 หลังการดําเนินงานนักเรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยภาพรวม ร้อยละ 82.28 บรรลุตามเกณฑ์พัฒนา คือ ร้อยละ 80 และเพิ่มขึ้นจากก่อนดําเนินงานรวมเฉลี่ยร้อยละ 9.83