โครงการการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 2 (ว
ผู้ประเมิน : นางยุพาภรณ์ ชูสาย
ปีที่วิจัย : ปี 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง โครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อประเมินการดำเนินการโครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงโครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการประเมินโครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีการประเมินของ Danial L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model โดยประเมิลผลโครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ใน 8 ด้านคือ ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนด้านการถ่ายโยงความรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามความคิดเห็นและการสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 32 คน เจ้าหน้าที่ระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา จำนวน 2 คน รวมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 36 คน และการตรวจสอบเอกสารโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบตรวจเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติคือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (μ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และเจ้าหน้าที่ระบบข้อมูลสารสนเทศ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก
2. ด้านการประเมินบริบท พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมและรายข้อ อยู่ในระดับ มาก โดยมีด้านวัตถุประสงค์ของการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา มีความชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ สอดคล้องกับสภาพการจัดการศึกษาและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานทุกระดับ ด้านมีความพร้อมในการดำเนินงาน คือ กำหนดงานการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ได้ถูกต้องกับโครงสร้างการบริหารงานของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด
3. ด้านการประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมและรายข้อ อยู่ในระดับ มาก เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบข้อมูลสารสนเทศระดับโรงเรียน มีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์ในการทำงาน มีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบ Internet ได้ในระดับ ดี และผู้บริหารสถานศึกษา ให้การส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่รับผิดชอบระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนใช้จ่ายงบประมาณเป็นขั้นตอน สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา มีสถานที่เป็นxxxส่วน มีความเหมาะสมเอื้อต่อการดำเนินงาน มีวัสดุครุภัณฑ์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงานและอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน การบริหารและการจัดการ มีการชี้แจงทำความเข้าใจแก่บุคลากรในหน่วยงานให้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของข้อมูลสารสนเทศ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานและกำหนดหน้าที่รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจคณะทำงานและกำหนดหน้าที่รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน
4. ด้านการประเมินกระบวนการ พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมและรายข้อ อยู่ในระดับ มาก ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล มีการวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลก่อนเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดวิธีการ รวบรวมข้อมูลอย่างชัดเจน การประชุมชี้แจงทำความเข้าใจคณะทำงานก่อนการดำเนินการ กำหนดระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูล มีการติดตาม กำกับดูแลให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และในด้านคุณภาพของแบบเก็บข้อมูลพบว่า แบบเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นทำความเข้าใจง่าย สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครอบคลุมความต้องการและสะดวกต่อการนำไปใช้ สำรวจความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศภายในสถานศึกษา เก็บข้อมูลเพิ่มเติมตามความต้องการ ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลเหมาะสมสอดคล้องกัน และการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถดำเนินการได้ดีตามระยะเวลาที่กำหนด ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลมีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ วิธีการตรวจสอบข้อมูลไว้อย่างชัดเจน ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและตรวจสอบซ้ำ ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลอย่างชัดเจน
5. ด้านการประเมินผลผลิต พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมและรายข้อ อยู่ในระดับ มาก ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ด้านปริมาณ จำนวนข้อมูลสารสนเทศ เพียงพอตามความต้องการของหน่วยงาน ครบตามขอบข่ายที่กำหนด ด้านคุณภาพข้อมูลสารสนเทศที่ได้ มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ แม่นยำสอดรับกับการปฏิบัติงานจริง นำไปใช้ได้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่นได้ในเวลาเดียวกัน และมีความชัดเจนไม่คลุมเครือกะทัดรัด เป็นปัจจุบันทันสมัย มีการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ทำให้ตัดสินใจกำหนดนโยบายวางแผนการปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความถูกต้องแม่นยำชัดเจนและรวดเร็ว ตรมตามสภาพปัญหาและความต้องการ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง บุคลากร ในสถานศึกษาเกิดการพัฒนา ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ มีระบบ คล่องตัวรวดเร็วตรงตามนโยบายทุกหน่วยงานทุกระดับ
6. ด้านการประเมินผลกระทบ ผลการประเมินในภาพรวมและรายข้อ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ทุกรายข้อ โดยความคิดเห็นว่าในส่วนการรายงานผลการประเมินโครงการ การมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในและภายนอก แสดงให้เห็นองค์ความรู้ด้านข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา มีการเผยแพร่ผลการประเมินโครงการ ทำให้เกิดการยอมรับจากชุมชน สังคม และความนิยมต่อสถานศึกษา มีการตอบรับดีมากในด้านการให้ความร่วมมือจากชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน และหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
7. ด้านการประเมินประสิทธิผล พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและรายข้อ มีรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก 2 ข้อ คือ ความมั่นใจและความสามารถด้านการจัดเก็บสารสนเทศทางการศึกษา และ ประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานที่คุ้มค่า ส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในส่วนด้านมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญ ในการพัฒนาโครงการ ประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพด้านการสร้างความสัมพันธ์ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ประสิทธิภาพด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ อยู่ในระดับปานกลาง
8. ด้านการประเมินความยั่งยืน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มี 3 ข้อที่มีคุณภาพอยู่ในระดับ มาก คือ การนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาใช้ในการพัฒนางาน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีแหล่งข้อมูล และการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ การประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปสู่งานอื่นๆ รองลงมาคือ การพัฒนาโครงการ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงการ การพัฒนาด้านทักษะภาษา ทักษะการวิจัย และ การทำงานเป็นทีม
9. ด้านการประเมินการถ่ายโยงความรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง พบว่า มีจำนวน 3 ข้อ ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับ มาก คือ การปรับกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา เป็นที่ปรึกษาด้านการประเมินโครงการ และการต่อยอดแนวคิดจากการทำประเมินโครงการ รองลงมาคือ กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยปานกลาง ได้แก่ การปรับปรุงและการนำไปใช้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีใหม่ และการปรับความรู้ให้เหมาะสมกับองค์กรภายนอก
ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงโครงการการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ พบว่า มีปัญหาและข้อเสนอแนะในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า ยังขาดความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่จัดเก็บข้อมูลเพียงอย่างเดียว และแผนงานตามหน้าที่รับผิดชอบ ครู 1 คน รับผิดชอบหลายงาน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า เจ้าหน้าที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในโปรแกรมระบบงานสารสนเทศเพียงพอ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบ Internet Lan ยังไม่มีความพร้อม และขาดประสิทธิภาพไม่ทันสมัย ยังไม่มีห้องเฉพาะสำหรับจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา
3. ด้านกระบวนการ พบว่า ด้านกำหนดการและระยะเวลาจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา มีการยืดหยุ่นมากเกินไป ทำให้ได้ข้อมูลล่าช้า
4. ด้านผลผลิต พบว่า คณะครูบางส่วนยังขาดระเบียบวินัยไม่ส่งข้อมูลตามเวลาที่กำหนดทำให้ได้ข้อมูลล่าช้าไม่ทันกำหนดเวลา ได้ข้อมูลทางการศึกษาไม่สมบูรณ์
5. ด้านผลกระทบ พบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ งบประมาณไม่เพียงพอในกาจัดทำระบบ Internet wifi