รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด
ปีที่ 1 จำนวน 8 เรื่อง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จำนวน 8 เรื่อง 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน
และการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตลาดแค สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลตลาดแค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 19 คน จำนวน 1 ห้องเรียน คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ½ จำนวน 19 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 2 ห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ ประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 เรื่อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ( acsievement - test)ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบค่าที ( t –test dependent sample)
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1.ประสิทธิภาพของ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 เรื่อง คือมีประสิทธิภาพ
84.74/83.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 เรื่อง
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 19 คน
โดยภาพรวมพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.78 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58