การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning).....
ผู้วิจัย : นายวีระ ปัญญาสงค์
ตำแหน่ง : ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา : โรงเรียนบ้านป่ากะพี้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุตรดิตถ์ เขต 1 อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่วิจัย : 2560
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่ากะพี้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบทดสอบท้ายชุดกิจกรรม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม E1/E2 ค่าเฉลี่ย (x-bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ และค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 84.54/81.07 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. การเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับระคนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด