การพัฒนาการอ่านจับใจความ โดยใช้ชุดฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่ว
ชื่อเรื่อง การพัฒนาการอ่านจับใจความ โดยใช้ชุดฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางนริมล มูหำหมัด
ปีที่วิจัย 2556
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80 / 80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนภาษาไทยโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านคลองต่อ (ทวีรัตน์อุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purpose sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 20 แผน
แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบท้ายชุดฝึกทักษะ เป็นแบบทดสอบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก ชุดละ 10 ข้อ ทั้งหมดจำนวน 6 ชุด 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน จำนวน 1 ฉบับ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
เป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธี / การเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยการทดสอบค่าที (t – test) และการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนภาษาไทยโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.17 / 83.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 /80
ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
มีความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาไทย โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60)