รูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชา
อาเซียนศึกษาเฉพาะกรณีการจัดการศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
ผู้วิจัย นางเยาวลักษณ์ มาส้มซ่า
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดการศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดการศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ครู โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และเจ้าหน้าที่พนักงาน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน จำนวน 280 คนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability Sampling) ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) คือ ใช้ตารางเลขสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.6 เพศชาย ร้อยละ 30.4 มีอายุ 41–50 ปี ร้อยละ 36.1 รองลงมา ได้แก่ อายุ 31–40 ปี ร้อยละ 34.6 และ อายุ 51–60 ปี ร้อยละ 23.6 วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี ร้อยละ 54.6 รองลงมา ได้แก่ อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 24.6 และมัธยมศึกษา/ปวช. ร้อยละ 17.9 ตำแหน่งผู้ปกครองนักเรียนมากที่สุด ร้อยละ 75.7 รองลงมา ได้แก่ ครู ร้อยละ 14.6 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 5.0 ตามลำดับ
2. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน กรณีการจัดการศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.87, S.D = 0.637) ทั้งนี้มีความคิดเห็นในประเด็น ผู้อำนวยการสถานศึกษามีหน้าที่กำกับดูแลบุคลากรและดำเนินงานภายในสถานศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่วางไว้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและความเรียบร้อยเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด และประเด็นโรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนโดยคัดเลือกจากชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ผู้แทนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน ผู้แทนครู อย่างละไม่น้อยกว่า 1 คนโดยมีผู้อำนวยการสถานศึกษาทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการ และประเด็นโรงเรียนมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ จัดหาสื่อ นวัตกรรมให้มีความพร้อมสมบูรณ์ในการให้บริการแก่ผู้เรียนในการจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนเช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการทางภาษา รวมทั้งการสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศมาช่วยในการเรียนการสอน ทั้งสามประเด็นดังกล่าวมีความคิดเห็นมากกว่าประเด็นอื่น อยู่ในระดับมาก (= 4.15, S.D = 0.450, 0.450, 0.684)
3. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนด้านการบริหารด้วยระบบคุณภาพโดยรวมในระดับมาก (= 3.83, S.D = 0.740)ทั้งนี้มีความคิดเห็นในประเด็นโรงเรียนจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาอย่างชัดเจน ครอบคลุมหลักการจัดการศึกษาอันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาอย่างแท้จริงมากกว่าประเด็นอื่น อยู่ในระดับมาก(= 4.03, S.D = 0.745)
4. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนด้านการบริหารงบประมาณโดยรวมในระดับมาก ( = 4.03, S.D = 0.662) ทั้งนี้มีความคิดเห็นในประเด็นมีสภาพคล่องในการบริหารจัดการงบประมาณในการจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนมากกว่าประเด็นอื่น อยู่ในระดับมาก( = 4.26, S.D = 0.554)
5. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนด้านความเป็นผู้นำทางวิชาการโดยรวมในระดับมาก (= 3.75, S.D = 0.786) ทั้งนี้มีความคิดเห็นในประเด็นผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนเป็นอย่างดีมากกว่าประเด็นอื่น อยู่ในระดับมาก(= 4.12, S.D = 0.650)
6. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยรวมในระดับมาก(=3.82, S.D = 0.716) ทั้งนี้มีความคิดเห็นในประเด็นผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการฯ มีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรด้านสื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ สำหรับนำมา ใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนมากกว่าประเด็นอื่น อยู่ในระดับมาก( = 3.99, S.D = 0.616)
7. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนด้านบุคลากรโดยรวมในระดับมาก ( = 4.12, S.D = 0.586) ทั้งนี้มีความคิดเห็นในประเด็นมีจำนวนครูครบทุกห้องและเพียงพอต่อการดูแลผู้เรียนมากกว่าประเด็นอื่น อยู่ในระดับมาก(= 4.24, S.D = 0.539)
8. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนด้านสภาพแวดล้อมโดยรวมในระดับมาก( = 4.22, S.D = 0.539) ทั้งนี้มีความคิดเห็นในประเด็นจัดมุมเรียนรู้ในห้องเรียนที่หลากหลาย เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนมากกว่าประเด็นอื่น อยู่ในระดับมาก(= 4.31, S.D = 0.534)