LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

รายงานผลการดำเนินโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่อ

usericon

ชื่อผลงาน            รายงานผลการดำเนินโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
ผู้รายงาน            เยาวลักษณ์ มาส้มซ่า
     รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
ปีการศึกษา         2558

บทสรุปผู้บริหาร

โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน สังกัดเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน26ห้องเรียน ในปีการศึกษา 2558 มีนักเรียนจำนวน 804 คน มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 53 คน ประชากรในชุมชนมีอาชีพหลัก คือ รับราชการ ค้าขาย รับจ้าง และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีฐานะปานกลาง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี การจัดการศึกษาโดยภาพรวมของโรงเรียนใช้ระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา
โครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาแม่ฮ่องสอนซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มีความมั่นคงเพื่อการออม การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารจึงมีบทบาทในการส่งเสริมให้สังคมไทยได้รู้จักการออมบนพื้นฐานการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง โดยได้จัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นและปลูกฝังนิสัยรักการออมให้แก่เด็กและเยาวชน และเชื่อมั่นว่าหากคนไทยมีจิตสำนึกรักการออมตั้งแต่วัยเยาว์ก็จะส่งผลให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เห็นความสำคัญของการออม และรู้จักการใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสม มีเงินเก็บออม และสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต และส่งเสริมให้ประเทศชาติเข้มแข็งได้ด้วยเงินออมของคนในชาติ โดยโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนมีการดำเนินโครงการธนาคารโรงเรียนตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน ปีการศึกษา 2558 นับเป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 7 ปี
จากการวิเคราะห์ผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน) รอบสาม (2554-2558) ผลการประเมินโดยภาพรวม โรงเรียนมีระดับคุณภาพดี ได้คะแนนรวมร้อยละ 86.53 หนึ่งในนวัตกรรมหรือตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ของสถานศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม คือ โครงการธนาคารโรงเรียน และจากผลการประเมินคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ประจำปีการศึกษา 2558โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จและด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเรียนมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ มีลักษณะนิสัยที่ดีในความมีวินัย มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ มีความอดทน ประหยัด อดออม มีความเสียสละ รู้จักใช้จ่ายเงิน และบริหารเงินอย่างมีหลักการที่ถูกต้อง มีความรู้ในด้านการบริหาร การบริการ และการทำงานอย่างมีขั้นตอน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ นอกจากนั้นนักเรียนยังสามารถนำแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันจากการเริ่มต้นที่ประหยัด อดออม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่กำหนดไว้ว่า “โรงเรียนเป็นฐาน วิชาการเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม นำสุขภาพดี มีสุข ปลูกฝังภูมิปัญญา พัฒนาสิ่งแวดล้อม พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” จากเหตุผลข้างต้นทำให้โรงเรียนดำเนินโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
โครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักประหยัดอดออม และสามารถดำรงชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อให้นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการ หรือเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรม ได้ฝึกทักษะการบริหาร การบริการ และการทำงานอย่างมีขั้นตอน ประชากรได้แก่ นักเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ปีการศึกษา 2558 ที่เข้าร่วมโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ปีการศึกษา 2558 ที่เป็นสมาชิกของธนาคารโรงเรียนเข้าร่วมโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน จำนวน 530 คนและนักเรียนที่เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานธนาคารโรงเรียน โครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน จำนวน 6 คน
การดำเนินการโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน มีวิธีดำเนินการที่ประกอบด้วย ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติตามแผน ขั้นติดตามประเมินผล และขั้นปรับปรุง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามพฤติกรรมด้านการประหยัด อดออม จากการเข้าร่วมโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และ 2) แบบสอบถามทักษะการทำงานของนักเรียนที่เป็นคณะกรรมการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนซึ่งแบบสอบถามทั้งสองฉบับเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการดำเนินงานสามารถสรุปผลได้ดังนี้
1. นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 เข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคารโรงเรียน จำนวน 530 คน ร้อยละ 63.10 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนมีพฤติกรรมการประหยัด อดออม จากการร่วมกิจกรรมโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน โดยรวมในระดับมาก (μ= 2.66, σ= 0.624) โดยรู้สึกดีใจและภูมิใจเมื่อเห็นยอดเงินในบัญชีเพิ่มสูงขึ้น อยู่ในระดับมาก(μ= 2.78, σ= 0.536) รองลงมา ได้แก่ เลือกซื้อสิ่งของที่สามารถใช้ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถจัดสรรและใช้จ่ายเงินตามที่ พ่อ แม่ ผู้ปกครองกำหนดให้ อยู่ในระดับมาก(μ= 2.73, σ= 0.588, 0.575)และพยายามเก็บสะสมเงินไว้ทุกเดือน อยู่ในระดับมาก(μ= 2.71,σ= 0.589)ตามลำดับ
2. นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการ ปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารโรงเรียน ในโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน พบว่า
     2.1 มีทักษะการปฏิบัติงานด้านการบริหารโดยรวมในระดับมาก (μ= 2.72, σ= 0.51)โดยมีการประชุมวางแผนงานก่อนการเปิดทำการธนาคารโรงเรียนอยู่ในระดับมาก (μ= 3.00, σ= 0.00)รองลงมา ได้แก่ เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมให้พร้อมสำหรับการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (μ= 2.83, σ= 0.41)และเข้าใจบทบาทหน้าที่ตำแหน่งของตนเองเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ในการให้บริการและเปิดทำการตรงเวลาตามวันและเวลาที่กำหนด อยู่ในระดับมาก (μ= 2.83, σ= 0.41) ตามลำดับ
     2.2 มีทักษะการทำงานโดยรวมในระดับมาก (μ= 2.43, σ= 0.77) โดยเตรียมความพร้อมในการให้บริการลูกค้าของธนาคารในแต่ละวัน อยู่ในระดับมาก (μ= 2.83, σ= 0.41) รองลงมา ได้แก่ จัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ อยู่ในระดับมาก (μ= 2.67, σ= 0.52) และตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกรายการในใบฝาก – ถอน และบันทึกรายการฝาก – ถอน เงินลงในเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก (μ= 2.50, σ= 0.84) ตามลำดับ
     2.3 มีทักษะการบริการโดยรวมในระดับมาก (μ= 2.65, σ= 0.61) โดย แต่งกายสุภาพ ถูกต้องตามกฎระเบียบและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์กับผู้มารับบริการ อยู่ในระดับมาก (μ= 3.00, σ= 0.00) รองลงมา ได้แก่ ใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการให้บริการเอาใจใส่ผู้เข้ามารับบริการอย่างเสมอภาคและเตรียมพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ สำหรับการบริการ อยู่ในระดับมาก (μ= 2.83, σ= 0.41)ปฏิบัติหน้าที่ตรงต่อเวลาและบริการด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม อยู่ในระดับมาก (μ= 2.67, σ= 0.52) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน มีดังนี้
1. โรงเรียนควรจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมด้านการประหยัด อดออม ด้วยโครงการธนาคารโรงเรียนอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา สำหรับการปลูกฝังให้นักเรียนทุกคนมีนิสัยการประหยัดในการใช้จ่าย
2. โรงเรียนควรจัดกิจกรรมให้เกิดความหลากหลายและทำให้นักเรียนมีความตื่นเต้น สนุกและรักในการร่วมปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมให้มีนิสัยประหยัดอดออม
3. โรงเรียนควรขยายผลไปยังผู้ปกครองในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคารโรงเรียน เพื่อกระตุ้นให้เป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนในการเสริมสร้างนิสัยประหยัดอดออม
4. โรงเรียนควรจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ที่ได้ผล เข้าถึงนักเรียนทุกคนสามารถกระตุ้นให้นักเรียนเข้าร่วมโครงการธนาคารโรงเรียน โดยกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนเข้าร่วมโครงการร้อยละ 100
5. โรงเรียนควรฝึกให้นักเรียนทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายประจำวัน เพื่อให้รู้จักตนและเกิดความระมัดระวังในการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยหรือการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
6. ครูควรมีการติดตาม เสนอแนะ และชี้แจง สร้างเสริมหรือผลักดันให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นคนประหยัด อดออม รู้จักกิน รู้จักใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง
7. ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการเข้าร่วมกิจกรรมธนาคารโรงเรียน
8. ครูที่ปรึกษาควรดูแลอย่างใกล้ชิดและฝึกให้นักเรียนมีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การติดตามประเมินผล และการพัฒนาปรับปรุง
9. คณะกรรมการที่เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานธนาคารโรงเรียน (นักเรียน) ควรมีการประชุมปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามประเมินผลการทำงานและพัฒนาปรับปรุงให้งานที่ทำประสบผลสำเร็จ โดยมีครูที่ปรึกษาคอยดูแล
10. โรงเรียนควรจัดบริการรับฝาก-ถอนเงิน โดยฝึกให้นักเรียนใช้บริการจากธนาคารโรงเรียนด้วยตนเอง และขยายเวลาในการเปิดบริการเพิ่มจาก 1 วันต่อสัปดาห์
11. โรงเรียนควรจัดบริการสถานที่ และสร้างบรรยากาศของห้องที่ทำการธนาคารโรงเรียน ให้สะดวกสบายในการเข้ารับบริการ และมีการจัดมุมให้ความรู้ หรือสร้างบรรยากาศกระตุ้นการออมแก่สมาชิก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^