รายงานการพัฒนาชุดการเรียนการสอนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่
ที่กระตือรือร้น เรื่อง สารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางปรารถนา รักศิลป์
โรงเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่องสารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดการเรียน
การสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่องสารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่องสารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 44 คน ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 6 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 18 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ คือ ชุดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้นเรื่อง สารชีวโมเลกุล จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน เรื่องสารชีวโมเลกุล จำนวน 40 ข้อ และ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่อง สารชีวโมเลกุล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
t–test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่อง สารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.56/82.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 โดยสรุปชุดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่อง สารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เหมาะสมทำให้นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น และมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมากที่สุด จึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้ครุนำไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไป