การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาเคมีเพื่อส่งเสริมความสามารถใน
ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตตนิสัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางปรารถนา รักศิลป์
โรงเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้รายวิชาเคมีเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้รายวิชาเคมีเพื่อส่งเสริมผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้รายวิชาเคมีเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้รายวิชาเคมีเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 41 คน ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 7 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 21 ชั่วโมง ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis:R1) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Design and Development : D1) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 3 การนำไปใช้ (Implementation : R2) : การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุง (Evaluation : D2) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. จากการวิเคราะห์หลักสูตร ทฤษฎี งานวิจัย เห็นความสำคัญของการเรียนการสอน
วิชาเคมีและความคิดเห็นจากผู้บริหาร ครูผู้สอนสาระวิทยาศาสตร์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี โดยจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามทฤษฏีการสร้างความรู้ โดยให้ประสบการณ์ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างหลากหลาย และพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และศักยภาพนักเรียนในด้านความคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์กระบวนการทำงานเป็นหมู่คณะ และการนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิต
2. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เรียกว่า MPPNE มีองค์ประกอบสำคัญคือ
1) หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน
3) กระบวนการเรียนการสอน 4) หลักการตอบสนอง 5) ระบบสังคม 6) สิ่งสนับสนุน 7) สาระความรู้ 8) สิ่งส่งเสริมในการเรียนรู้
3. รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้รายวิชาเคมีเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ
E1 / E2 เท่ากับ 84.14/82.66
4. การประเมินและพัฒนา นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน จากการประเมินความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.64