ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 29 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนโคกโพธิ์ไชยศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ จำนวน 12 แผน เวลา 24 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, และการทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.29/81.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เกิดความพึงพอใจต่อการเรียน ระดับมากที่สุด