ชุดกิจกรรมเรียนรู้เรื่อสาร
สมบัติของสาร
สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะของสารชนิดนั้น ๆ ซึ่งสามารถบ่งบอกว่า
สารนั้นคืออะไร เพราะสารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกัน การที่สารมีสมบัติต่างกัน และมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสถานะได้แตกต่างกันนี้ ถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสารแต่ละชนิด
สมบัติของสารสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. สมบัติทางกายภาพของสาร เป็นสมบัติเฉพาะตัว
ของสารแต่ละชนิด ซึ่ง สามารถสังเกตได้ง่ายจากภายนอก ได้แก่
สี กลิ่น รส การละลาย ความแข็ง ลักษณะผลึก สถานะ การนำ
ความร้อน การนำไฟฟ้า จุดเดือด จุดหลอมเหลวและความหนาแน่น เป็นต้น
โมเลกุลของของแข็ง โมเลกุลของของเหลว โมเลกุลของแก๊ส
ที่มา : ยุพา วรยศ และคณะ. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์. หน้า 56.
2. สมบัติทางเคมีของสาร เป็นสมบัติของสารที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภายในของสารที่แสดงออกมาให้เห็น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือการเกิดปฏิกิริยาเคมี
โดยจะมีสารใหม่เกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในและมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของสารด้วย ซึ่งสารใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีสมบัติแตกต่าง
ไปจากสารเดิม เช่น การเกิดสนิมเหล็ก การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การสังเคราะห์
ด้วยแสง เป็นต้น
ภาพการเกิดสนิทเหล็ก ภาพการเผาไหม้
แหล่งที่มา : www.tmn-international2003.net แหล่งที่มา : www.talk.mthai.com
[25 มกราคม 2558] [2 มิถุนายน 2558]
สมบัติของสาร เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น สมบัติ
ความเป็นกรด–เบส ของสาร ทำให้ทราบวิธีป้องกัน แก้ไขปฏิกิริยาของกรด–เบส
กับสารต่าง ๆ เพื่อใช้กรด–เบส ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องและปลอดภัย สมบัติ
ของสาร ใช้ในการจำแนกสารเป็นหมวดหมู่ตามเกณฑ์สมบัติของสารเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและจดจำ ซึ่งเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการจำแนกก็คือสมบัติ ของสาร เช่น
สถานะ การนำไฟฟ้า การนำความร้อน จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความเป็นกรด–เบส
การละลาย เป็นต้น โดยที่เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกสาร อย่างง่าย ๆ คือการใช้ลักษณะ
ของเนื้อสาร
เพื่อน ๆ มาทำกิจกรรมในบัตรกิจกรรมที่ 1
เรื่อง สมบัติของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส
กันนะครับ
บัตรกิจกรรมที่ 1
เรื่อง สมบัติของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อศึกษาสมบัติของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส
2. เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส
วัสดุและอุปกรณ์
1. น้ำแข็ง 1 แก้ว 4. แท่งแก้วคนสาร 1 อัน
2. บีกเกอร์ 1 ใบ 5. หนังยาง 1 เส้น
3. ถุงพลาสติก 1 ใบ 6. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด
คำสั่ง ขั้นตอนการทำกิจกรรม
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำน้ำแข็งใส่ในบีกเกอร์ สังเกตน้ำแข็งที่จะละลายว่า
มีสมบัติอย่างไร แล้วบันทึกผล
2. ตั้งบีกเกอร์ใส่น้ำแข็งทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที โดยใช้แท่งแก้วคนสารคนตลอดเวลา สังเกตการเปลี่ยนแปลง และบันทึกผล
3. จุดตะเกียงแอลกอฮอล์ แล้วนำบีกเกอร์ใส่น้ำแข็งที่ละลายแล้ววางไว้บนตะแกรง จนกระทั่งเดือด สังเกตการเปลี่ยนแปลง และบันทึกผล
4. ดับตะเกียงแอลกอฮอล์ นำบีกเกอร์วางบนโต๊ะ แล้วใช้ถุงพลาสติกใสครอบปากบีกเกอร์ให้สนิท แล้วรัดด้วยยางให้แน่น สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในถุง และบันทึกผล
แบบบันทึกบัตรกิจกรรมที่ 1
เรื่อง สมบัติของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปฏิบัติกิจกรรมวันที่...........เดือน.............................................พ.ศ..............
ชื่อกลุ่ม......................................................................................................
สมาชิกกลุ่ม 1)...............................................................................เลขที่..........
2)...............................................................................เลขที่..........
3)................................................................................เลขที่..........
4)................................................................................เลขที่..........
บันทึกผล
การทดลอง สิ่งที่สังเกตเห็น
1. นำน้ำแข็งใส่ในบีกเกอร์
2. ตั้งบีกเกอร์ใส่น้ำแข็งไว้ประมาณ 5-10 นาทีแล้วใช้แท่งแก้วคน
3. นำน้ำใส่บีกเกอร์ไปต้มจนเดือด จากนั้นนำถุงพลาสติกใสครอบที่ปากปีกเกอร์ให้แน่น
สรุปผล
..............................................................................................................
..............................................................................................................
..............................................................................................................
..............................................................................................................
..............................................................................................................
เกณฑ์การประเมินบัตรกิจกรรม
8 - 10 = ตอบคำถามถูกต้อง ชัดเจน ครอบคลุมดี ใบงานสะอาดเรียบร้อย
5 - 7 = ตอบคำถามถูกต้อง ชัดเจน ครอบคลุมดี
1 - 4 = ตอบคำถามถูกต้อง แต่ไม่ชัดเจน
คะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้คะแนน.......คะแนน คิดเป็นร้อยละ ..............
สรุปผล ( ) ผ่าน ( ) ไม่ผ่าน