LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนาโรงเรียนโดยใช้ “PDCA of TEACHERS MODEL”

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความมีประสิทธิผล “PDCA of TEACHERS MODEL” : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านซาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7
ผู้วิจัย             นางประคอง ลัดกลาง
ปีที่ศึกษา        2559

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและประเมิน
ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนบ้านซาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความมีประสิทธิผล “PDCA of TEACHERS MODEL” และ 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความมีประสิทธิผล “PDCA of TEACHERS MODEL” ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนบ้านซาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน
บ้านซาด จำนวน 75 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความมีประสิทธิผล โดยทำการสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและแนวทางการบริหารโรงเรียนสู่ความมีประสิทธิผล รวมทั้งนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาเป็นกรอบในการยกร่างรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และนำรูปแบบไปทดลองใช้นำร่องกับโรงเรียนบ้านซาด ปีการศึกษา 2558 พร้อมทั้งพัฒนาปรับปรุง
ก่อนการทดลองใช้จริง ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความมีประสิทธิผล โดยนำรูปแบบที่ปรับปรุงและพัฒนาแล้วจากขั้นตอนที่ 2
ไปทดลองใช้จริงกับโรงเรียนบ้านซาด ปีการศึกษา 2559 พร้อมทั้งประเมินความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง ต่อผลการจัดการศึกษาที่เกิดจากการนำรูปแบบไปใช้
    ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
    1. สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนบ้านซาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
โดยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการมีภาวะผู้นำที่เกื้อหนุน ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการมีส่วนร่วม
ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล ด้านการบริหารตนเอง และด้านการพัฒนาทั้งระบบ โดยโรงเรียนบ้านซาด
มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสูงสุดสามลำดับแรก ได้แก่ การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ และการตรวจสอบและถ่วงดุล ตามลำดับ
2. รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความมีประสิทธิผล “PDCA of TEACHERS MODEL” ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบ
การดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยในการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ
ตามขอบข่ายการบริหารงานของสถานศึกษา จะมีกระบวนการทำงานที่สำคัญตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) ซึ่งจะต้องอาศัยเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานตามวงจรคุณภาพประสบความสำเร็จ คือ TEACHERS (Teamwork : การทำงานเป็นทีม, Equity : ความเสมอภาค , Academic leadership :
ภาวะผู้นำทางวิชาการ , Clearly goal : เป้าหมายร่วมที่ชัดเจน , Human relationship : มนุษยสัมพันธ์ , Environment : สภาพแวดล้อมเชิงบวก , Reward : รางวัล และ Supporting : การส่งเสริมสนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก) โดยผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความมีประสิทธิผล “PDCA of TEACHERS MODEL” พบว่า โรงเรียนบ้านซาดสามารถดำเนินงานตามรูปแบบจนส่งผลให้โรงเรียนมีประสิทธิผลโดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า
        3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายที่กำหนด โดยมีประสิทธิผลอยู่ในระดับดี
        3.2 นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร โดยมีประสิทธิผลอยู่ในระดับดีเยี่ยม
        3.3 นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีประสิทธิผล
อยู่ในระดับดีเยี่ยม
        3.4 สถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน โดยมีประสิทธิผลอยู่ในระดับดีเยี่ยม
        3.5 ผู้บริหารและครูได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี โดยมีประสิทธิผลอยู่ในระดับดีเยี่ยม
        3.6 สถานศึกษาได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากผู้ปกครองและชุมชน โดยมีประสิทธิผล
อยู่ในระดับดีเยี่ยม
            นอกจากนี้ยังพบหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นถึง ความมีประสิทธิผลของโรงเรียน
บ้านซาด อันเกิดจากการบริหารจัดการโดยใช้รูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นคือการได้รับรางวัลต่าง ๆ ได้แก่
รางวัลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา , รางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่นระดับเงิน โครงการโรงเรียนสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข , รางวัลผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนดีประจำตำบล ในระดับดีมาก , รางวัลการเข้าร่วมประกวดสถานศึกษาที่มีกิจกรรมสร้างค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ที่สามารถเป็นแบบอย่างได้ , รางวัลผู้บริหารสถานศึกษาผ่านเกณฑ์ประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และ รางวัลผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยมระดับประถมศึกษาขนาดเล็ก ด้านการบริหารจัดการ ระดับ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น
        จากการประเมินความพึงพอใจของ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ต่อผลการจัดการศึกษาที่เกิดจากการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความมีประสิทธิผล “PDCA of TEACHERS MODEL” ไปใช้ พบว่า ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อผลการพัฒนาตามรูปโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^