รายงานการประเมินโครงการสานต่อที่พ่อสร้างด้วยแนวทางคลองโพธิ์
โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ผู้รายงาน นางพัชุดาญ์ จอมประเสริฐ
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีการศึกษา ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสานต่อที่พ่อสร้างด้วยแนวทางคลองโพธิ์วิถีพุทธ โรงเรียนเทศบาล วัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST Model โดยมีวัตถุประสงค์การประเมิน คือ เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการสานต่อที่พ่อสร้างด้วยแนวทางคลองโพธิ์วิถีพุทธ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน ๘ ด้านได้แก่ ด้านบริบท ( Context ) ด้านปัจจัยนำเข้า ( Input ) ด้านกระบวนการดำเนินงาน ( Process ) ด้านผลผลิต ( Product ) ด้านผลกระทบ ( Impact ) ด้านประสิทธิผล ( Effectiveness ) ด้านความยั่งยืน ( Sustainability )และด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability) และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง ( Simple Random Sampling ) โดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกนได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน ๒ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๔ คน ครูผู้สอนจำนวน ๔๐ คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๗๘ คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๗๘ คน และบุคคลในชุมชน ๒๐ คน รวม ๔๓๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ๔ ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราประมาณค่า ( Rating Scale ) ๕ ระดับ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ ระยะก่อนดำเนินโครงการ ระยะระหว่างดำเนินการ และระยะหลังการดำเนินโครงการ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X )และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมินครั้งนี้ผู้ประเมินได้สรุป ดังนี้
ผลการวิเคราะห์การประเมินโครงการสานต่อที่พ่อสร้างด้วยแนวทางคลองโพธิ์วิถีพุทธ โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model ทั้งด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) ด้านผลผลิต (Product) ด้านผลกระทบ (Impact) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) ด้านความยั่งยืน (Sustainability) และด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability) และผลการประเมินความพึงพอใจ ผ่านเกณฑ์การประเมิน