รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องพืชเริงร่า
น่ารัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน นางบุษบา เพชรรัตน์ ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านคลองเต็ง
อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง
พืชเริงร่า สัตว์น่ารัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2)
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง
พืชเริงร่า สัตว์น่ารัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชเริงร่า สัตว์น่ารัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านคลองเต็ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชเริงร่า สัตว์น่ารัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพืชเริงร่า สัตว์น่ารัก แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชเริงร่า สัตว์น่ารัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การหาค่าสถิติของข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชเริงร่า สัตว์น่ารัก ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 (E1 / E2) เท่ากับ 89.41 / 85.33 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชเริงร่า สัตว์น่ารัก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชเริงร่า สัตว์น่ารัก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชเริงร่า สัตว์น่ารัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชเริงร่า
สัตว์น่ารัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมนักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวม ( ) เท่ากับ 4.39 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.56