บทคัดย่อ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น
ผู้ศึกษาค้นคว้า เชาวรินทร์ หมื่นอาด
สถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น
เป็นกิจกรรมพัฒนาที่เน้นการถ่ายโอนการเรียนรู้ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ค้นพบองค์ความรู้ และแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน
จึงควรมีพื้นฐานทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
สืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
หาความรู้ 7 ขั้น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น กลุ่มประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น จำนวน 8 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น จำนวน 10 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.74 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.84 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.60 และ 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r)
ตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.674 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t – test)
ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น
มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.78/82.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ร้อยละ 41.74
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล
มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
หาความรู้ 7 ขั้นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย=4.40 , ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.76)
โดยสรุป ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น
มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่เชื่อถือและยอมรับได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน
และใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับครู และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษานำไปปรับปรุง แก้ไข ประยุกต์ใช้ ซึ่งครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเนื้อหาอื่นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น