เผยแพร่ผลงานนางลักษมี พายุหะ
ในการพัฒนาวิชาการโรงเรียนของโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
ผู้วิจัย นางลักษมี พายุหะ รองผู้อำนวยการโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันและความต้องการของครู ผู้บริหาร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการพัฒนาวิชาการโรงเรียนของโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 2) เปรียบเทียบสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันและความต้องการของครู ผู้บริหาร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาการโรงเรียนของโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 3) เปรียบเทียบสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันของครู ผู้บริหาร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาการโรงเรียนของโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามตำแหน่ง เพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และวุฒิการศึกษา และ 4) เปรียบเทียบความต้องการของครู ผู้บริหาร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาการโรงเรียนของโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามตำแหน่ง เพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และวุฒิการศึกษา คือ จำแนกตามตำแหน่ง เพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และวุฒิการศึกษา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 107 คน จากประชากรทั้งหมดจำนวน 145 คน ได้จากการสุ่มแบบอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one – way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพที่เป็นอยู่และความต้องการของ ครู ผู้บริหาร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาการโรงเรียนของโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 พบว่า สภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กรหน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดมี 2 ข้อที่มีระดับเท่ากัน คือการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในสถานศึกษา และการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน ในขณะที่ความต้องการภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 2 ข้อ คือ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
2. การเปรียบเทียบความแตกต่างสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันและความต้องการของครู ผู้บริหาร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาการโรงเรียนของโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 พบว่า ในภาพรวม 12 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การเปรียบเทียบความแตกต่างสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันของครู ผู้บริหาร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาการโรงเรียนของโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง เพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และวุฒิการศึกษา พบว่าตำแหน่ง เพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่วุฒิการศึกษามีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .01
4. การเปรียบเทียบความแตกต่างความต้องการของครู ผู้บริหาร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาการโรงเรียนของโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง เพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และวุฒิการศึกษา พบว่าเมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และวุฒิการศึกษา ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .01
Research title : Education needs of teachers School administrators and directors
In the academic development of the school,
of Lahansairatchadapisek
Office of the Secondary Education Region 32
Researcher : Laksame Phayuhah
Vice Director of Lahansairatchadapisek School,
Year : 2016
Abstract
The purposes of this study were 1) to study the teacher, school administrators’ and school committees’ perspectives on the present states and need of academic development in Lahansairatchadapisek School Educational Service Area Office 32
2) to compare the teachers’, school administrators’ and school committees’ perspectives on the present states and need of academic development in Lahansairatchadapisek School Educational Service Area Office 32, and 3) to compare the teachers’, school administrators’ and school committees’ perspectives on the present states of academic development in Lahansairatchadapisek School Educational Service Area Office 32 when they were classified by work position, gender, age, work experience, the period of being the Board of Education, and education, and 4) to compare the teacher, school administrators’ and school committees’ need of academic development in Lahansairatchadapisek School Educational Service Area Office 32 when they were classified by work position, gender, age, work experience, the period of being the Board of Education, and education. The sample, drawn using simple random sampling from the population of 145, consisted of 107 teacher, school administrators’ and school committees’ in Lahansairatchadapisek School Educational Service Area Office 32 during the academic year 2015. The instrument was a questionnaire constructed by the researcher with a reliability of 0.98. The data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA.
The results were as follows:
1. In overall, the present state of academic development in Lahansairatchadapisek School Educational Service Area Office 32 was rated at a moderate level. The promotion and academic support to individuals, families, organizations Establishments and other educational institutions was the highest mean aspect. The last one was the Development of quality assurance systems in educational institutions and the promoting academic knowledge to the community. For the need, it was, overall, rated at a high level. The Development of innovative media and educational technology and the collaboration in academic development with other educational institutions and organizations was the highest mean aspect. The last one was the Development of learning process.
2. After the comparison of the teachers’, school administrators’ and school committees’ perspectives between the present state and need of academic development in Lahansairatchadapisek School Educational Service Area Office 32, these two perspectives were different at a significance level of .01.
3. classified by work position, gender, age, work experience, the period of being the Board of Education, and education, the teachers, school administrators and the Board of Education on the present state of the academic development, these work position, gender, age, work experience, and the period of being the Board of Education were non significance but the education was different at a significance level of .01.
4. classified by work position, gender, age, work experience, the period of being the Board of Education, and education, the teachers, school administrators and the Board of Education on the need of the academic development, these gender, age, work experience, the period of being the Board of Education and education were non significance but the work position was different at a significance level of .01.