การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา
ผู้วิจัย นางจินตนา สุทธิ ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านฝาย
สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ ตามเกณฑ์ 80/803)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านฝาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 30 แผน 2)แบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ จำนวน 3 ชุด 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การหาค่า t - test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปรากฏผลดังนี้
1.1 การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมสอดคล้อง ปรากฏผลดังนี้
1.1.1 แผนการจัดการเรียนรู้ มีความสอดคล้องโดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80- 1.00
1.1.2 แบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ มีความเหมาะสมโดยชุดอักษรกลางมีค่า IOC เท่ากับ 1.00 ชุดอักษรสูงมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ชุดอักษรต่ำมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00
.2 การสนทนากลุ่ม จากการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันจากครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 12 คน สรุปประเด็นปัญหาได้ 3 ประเด็น ดังนี้
1.2.1 นักเรียนจำแนกพยัญชนะต้นอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำไม่ได้
1.2.2 นักเรียนอ่านผันต่ำไม่ถูกต้อง
1.2.3 นักเรียนใช้ภาษาถิ่นมาปนกับการอ่านผันคำ
2. การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลปรากฏว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 83.55/82.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3.การเปรียบเทียบผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77