การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมมาตราตัวสะกดเพื่อพัฒนาการอ่านโดยใช้เ
ผู้วิจัย นางจินตนา สุทธิ ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านฝาย ปีที่รายงาน 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบัน วิเคราะห์หาความต้องการสื่อ เพื่อแก้ปัญหาการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านฝาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 24 แผน 2) หนังสืออ่านเพิ่มเติมมาตราตัวสะกด จำนวน 8 เรื่อง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมมาตราตัวสะกด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการหาค่า t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบัน วิเคราะห์หาความต้องการสื่อเพื่อแก้ปัญหาการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
1.1 ปัญหาการสอนด้านสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปัญหาการสอนด้านสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย และความต้องการสื่อในการจัดการเรียนรู้มากที่สุด คือ หนังสื่ออ่านเพิ่มเติมที่มีปัญหาการสอนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 36.45 จึงสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมมาตราตัวสะกด แม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว แม่กบ แม่กด และแม่กบ ได้แก่เรื่อง ป๋องคนเก่ง เม่นผู้ซื่อสัตย์ ป้อมคนขยัน น้องสวยยอดประหยัด แจ๋วรวมพลัง เปี๊ยกผู้รักษาความสะอาด ยอดฝีปากดี และเรื่องน้ำใจจากเพื่อน
1.2 การสนทนากลุ่ม จากการอภิปราย การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้จากครูผู้สอนที่ทำการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 12 คน สรุปประเด็นปัญหาได้ 2 ประเด็น ดังนี้
1.2.1 นักเรียนบอกพยัญชนะต้นและจำรูปสระไม่ถูกต้อง
1.2.2 นักเรียนสับสนพยัญชนะต้นกับตัวสะกดเป็นตัวเดียวกัน
2. หนังสืออ่านเพิ่มเติมมาตราตัวสะกด มีประสิทธิภาพโดยภาพรวม 89.64/85.90
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมมาตราตัวสะกดในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81