LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาฯโดยนางประนอม หันทยุง

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางประนอม หันทยุง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2560

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)
โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธี (Mixed-Method Methodology)
มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้วิชา
ชีววิทยา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น
โดยใช้แบบแผนการวิจัยและพัฒนา โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฏี และเก็บ
ข้อมูลจากการสอบถามของครูวิชาชีววิทยา และตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มจากครูวิชา
ชีววิทยา ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการสอน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการ
เรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 และตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการ
จัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
กระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ห้อง จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random
Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปการจัดการ
เรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 40 ข้อ ค่าความยากตั้งแต่ 0.24 - 0.94
มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 - 0.78 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.76 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent
Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพทั่วไป และสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ครูวิชาชีววิทยา
ส่วนมากพยายามจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
แต่นักเรียนยังมีพฤติกรรมที่ไม่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมี
วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการแนวคิด
ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการ
ตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน ทั้งนี้ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบด้วย
1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Check prior knowledge) 2) ขั้นสร้างความขัดแย้งทางความคิด
(Confliction) 3) ขั้นการปฏิบัติ (Conduction) 4) ขั้นสรุป (Concluding) 5) ขั้นประเมินผล
(Evaluation)
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมี
วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิด
อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
โดยรวมหลังเรียนสูงกว่าจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้
วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^