การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ตามกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP
THE DEVELOPMENNT OF TEACHING MODEL BASED ON THE MIAP LEARNING PROCESS TO ENHANCE CAREER COMPETENCY CONSTRUCTION ABILITIES OF DEPARTMENT INTERIOR AND FURNITURE INDUSTRIAL STUDENTS
1นางสายชล เชตมีวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ
Donmuang Technical College, Donmuang Bangkok 10210 โทรศัพท์ 0816594644
Email :saicholchet@gmail.com
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการสร้างสมรรถนะอาชีพของนักเรียนสาขาวิชาอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน ได้แก่ การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเปรียบเทียบการสร้างสมรรถนะอาชีพ ศึกษาด้านการสร้างสมรรถนะอาชีพและศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า MISAP Model (มีทรัพย์ โมเดล) มีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสนใจปัญหาก่อนนำเข้าสู่บทเรียน (Motivation : M) 2) ขั้นศึกษาข้อมูลให้เนื้อหาความรู้ (Information : I) 3) ขั้นสังเคราะห์ความรู้สร้างแนวคิดใหม่สิ่งประดิษฐ์ (Synthesis : S) 4) ขั้นพยายามให้แบบฝึกหัดและการฝึกปฏิบัติจริง (Application : A) 5) ขั้นสำเร็จผลสรุปผลตรวจสอบผลการฝึกหัดและผลจากการปฏิบัติจริง (Progress :P) และชุดการสอนวิชาจิ๊กซ์และฟิกซ์เจอร์ที่มีรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ MISAP Model เพื่อส่งเสริมการสร้างสมรรถนะอาชีพของนักเรียนสาขาวิชาอุตสาหกรรมฯ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.41/86.43 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พบว่า ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนโดยใช้การสอบแบบ MISAP Model สร้างความรู้และทักษะการปฏิบัติงานจิ๊กซ์และฟิกซ์เจอร์ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบ MISAP Model แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยหลังทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MISAP Model นักเรียนสาขาวิชาอุตสาหกรรมฯ มีความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน พบว่า การสร้างสมรรถนะอาชีพของนักเรียนสาขาวิชาอุตสาหกรรมฯ โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก พบว่าความคิดเห็นของนักเรียนสาขาวิชาอุตสาหกรรมฯ ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MISAP Model โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้านในระดับมากที่สุด คือการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานจริง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง รองลงมา คือ การส่งเสริมให้ผู้เรียนสังเคราะห์ความรู้บูรณาการสร้างแนวคิดใหม่ โดยสร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)