การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโล
การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ
การเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ผู้ศึกษา ปาริมา พันธิตรา
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อน และหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 3. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ การเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติ ของเดวีส์ ผู้ศึกษาดำเนินการสร้างเอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียน การสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental design) เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 เล่ม 2) แผน การจัดการเรียนรู้เอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ จำนวน 22 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ การเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระและค่าดัชนีประสิทธิผล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 90.79/89.22
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน กล่าวคือมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยจากเดิม 22.51 เพิ่มเป็น 35.69
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ มีค่าเท่ากับ 0.7533 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.75 สูงกว่าเกณฑ์ คือ ร้อยละ 50 ขึ้นไป
4. จากการสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้เรียนมีความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอนการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48 , S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าประเด็นที่ผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ด้านทักษะกระบวนการ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ และด้านเนื้อหา ตามลำดับ