การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทย รูปแบบ STAD
ผู้ศึกษาค้นคว้า : นางอริสรา ผิวโพธิ์
หน่วยงาน : โรงเรียนหนองบัววิทยายน
สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เรื่อง สำนวนไทย มาตราตัวสะกด การผันอักษร และชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนหนองบัววิทยายน ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เรื่อง สำนวนไทย มาตราตัวสะกด การผันอักษร และชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD จำนวน 14 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวนไทย มาตราตัวสะกด การผันอักษร และชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัย 4ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD สถิติพื้นฐานใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้คำนวณหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ สถิติหาค่าความยาก (p) สถิติหาค่าอำนาจจำแนก (r) สถิติหาค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ สถิติหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของแบบทดสอบ (Index of Item –Objective Congruence : IOC) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน t-test (Independent Samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เรื่อง สำนวนไทย มาตราตัวสะกด การผันอักษร และชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ E1/E2 86.93/82.36 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เรื่อง สำนวนไทย มาตราตัวสะกด การผันอักษร และชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6278 หมายถึง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ที่พัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 62.78
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เรื่อง สำนวนไทย มาตราตัวสะกด การผันอักษร และชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เรื่อง สำนวนไทย มาตราตัวสะกด การผันอักษร และชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43
คำหลัก : สำนวนไทย, มาตราตัวสะกด, การผันอักษร, ชนิดของคำ, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD
รายละเอียด : https://drive.google.com/file/d/1LTYHe96tdHIY-JvKisY4oJl4H7r2aiPO/view?usp=sharing