รายงานผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้
ผู้รายงาน ศศิธร เทพรัตน์
สถาบันการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง
สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนด้วย
วิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดยบูรณาการการวาดภาพ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดย
บูรณาการการวาดภาพ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้โดยใช้
รูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดยบูรณาการการวาดภาพ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังจากเรียนจบแล้ว 2 สัปดาห์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดยบูรณาการการวาดภาพ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 40 คน โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับฉลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) รูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดยบูรณาการการวาดภาพ (2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน เวลา 15 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ 1) ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดยบูรณาการการวาดภาพ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช โดยใช้ค่าร้อยละ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ dependent 3) วิเคราะห์ความคงทนในการเรียนรู้จากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังจากเรียนจบทันที และทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังจากเรียนจบแล้ว 2 สัปดาห์ โดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และ 4) วิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดยบูรณาการการวาดภาพ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่คงทน ประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป โดยบูรณาการการวาดภาพ 4) ขั้นขยายความรู้ 5) ขั้นประเมิน และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดยบูรณาการการวาดภาพ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพโดยรวม เท่ากับ 86.09/90.50 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์กำหนดไว้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดยบูรณาการการวาดภาพ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( = 35.35, S.D = 1.55) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ( = 21.85, S.D = 2.93) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
3. ผลการศึกษาความคงทนในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดยบูรณาการการวาดภาพ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังจากเรียนจบแล้ว 2 สัปดาห์ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 76.88 ( = 30.75 , S.D = 1.89) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) โดยบูรณาการการวาดภาพ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจ ในระดับมาก ( = 4.36, S.D = 0.42) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4