LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ผลการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะด้านสังคมสำหรับนักเรียนชั้น

usericon

ชื่อเรื่อง     ผลการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะด้านสังคมสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช
ผู้วิจัย     นางนงพงา บุญยิ่ง
หน่วยงาน    โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช
ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมแบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะด้านสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช สังกัดเทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1 ห้องเรียน จากจำนวน 5 ห้องเรียน และจัดให้เด็กได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน เฉลี่ยวันละ 45 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการและแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการประยุกต์มาจากการดำเนินการวิจัยแบบ Single subject design กับแบบ One Group Time – Series เข้าด้วยกัน โดยมีผู้สังเกตจำนวน 1 คน ด้วยค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต RAI = 0.96 ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างลักษณะพฤติกรรมกับจุดประสงค์ IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การทดสอบนัยสำคัญโดยใช้การทดสอบของ Wilcoxon Matched Pairs Signed – Rank Test


ผลการศึกษาพบว่า
นักเรียนหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ มีทักษะด้านสังคมโดยรวมและรายด้านได้แก่ ด้านการช่วยเหลือ ด้านการยอมรับ และด้านการแบ่งปัน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^