การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเส
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางประถม ปราเวช
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้ อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ประเมินผลรูปแบบการสอนวรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ในด้าน 4.1) ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4.2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนวรรณคดีโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 42 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความต้องการพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย ท33102 2) แบบสัมภาษณ์ครูเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์ 5) แบบสัมภาษณ์ 6) แบบประเมินการอ่านตามสภาพจริง 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test แบบDependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า โดยภาพรวมแล้ว นักเรียนมีความต้องการพัฒนาทักษะการอ่านได้แก่เนื้อหาในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาภาษาไทย ท33102 และเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียนพิบูลมังสาหาร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายพุทธศักราช 2559 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2559) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้แก่ 1) วรรณคดีเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา 2) วรรณคดีเรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ 3) วรรณคดีเรื่อง สามัคคีเภท คำฉันท์ 4) วรรณคดีเรื่อง ขัตติยพันธกรณี 5) วรรณคดีเรื่อง พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาราช 6) เรื่องสั้นเรื่อง อัวรานางสิงห์ 7) นวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนภาษาไทย สรุปข้อมูลสอดคล้องกันว่า นักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนวรรณคดี ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน จนไม่สามารถพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้ การจัดการสอนด้วยรูปแบบการสอนSLARE Model นี้ ช่วยส่งเสริม ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถอ่านอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า รูปแบบการสอนSLARE Model มีองค์ประกอบ ดังนี้ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการกิจกรรม และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน มีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Stimulating) 2) ขั้นการเรียนรู้ (Learning) 3) ขั้นวิเคราะห์(Analyzing 4) ขั้นสรุปผล (Resulting) 5) ขั้นประเมินผล (Evaluating) ซึ่งรูปแบบการสอนนี้ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ให้ความเห็นว่าอยู่ในระดับ ดี แสดงว่ารูปแบบการสอนมีความสอดคล้องกับหลักการของรูปแบบการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน SLARE Model ที่พัฒนาขึ้น พบว่า ช่วยให้พัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งงานรายบุคคล และงานกลุ่ม อย่างตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.84/82.14
4) ผลการประเมินรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1) ผลการเรียนรู้ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก( = 4.41, S.D. = 0.49)