รายงานพัฒนาคู่มือภาษาอังกฤษโดยใช้บทบาทสมมติ
การศึกษาผลการเรียนรู้ การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองบัว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2559
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนที่มีต่อคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคู่มือจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ 2) คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนที่มีต่อคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ทดสอบสมมุตติฐานโดยใช้สถิติ (t-test for Dependent Samples) และการประเมินผลความพึงพอใจในการเรียน
ผลการศึกษาพบว่า
1. คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.07/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 70/70 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ มีค่าเท่ากับ 0.70 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้และมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 70 3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 12.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.10 และหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 24.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.62 ดังนั้นนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 12.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.69 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การศึกษาความพึงพอใจในการเรียนที่มีต่อคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติ ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.10