การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำ
โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT
ผู้วิจัย นางสุภรัตน์ ศรีบุณยมาลา
ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์
เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการนำการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT มาใช้ในการเรียนการสอน
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 38 คน ซึ่งกำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ 3 โดยใช้
การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง การออกแบบโปรแกรม จำนวน 6 แผน ระยะเวลา 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 3 แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ได้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT จำนวน 6 แผน ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 18 ชั่วโมง ในแต่ละแผนมีขั้นตอนการเขียนแผนประกอบด้วยกิจกรรมสำหรับพัฒนาสมองทั้งสองซีกสลับกันไปรวม
8 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างประสบการณ์ (สมองซีกขวา) ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ (สมองซีกซ้าย) ขั้นที่ 3 การพัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด (สมองซีกขวา) ขั้นที่ 4 การพัฒนาเป็นทฤษฎีและความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย) ขั้นที่ 5 การปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้ (สมองซีกซ้าย) ขั้นที่ 6 การสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง (สมองซีกขวา) ขั้นที่ 7 การหาทางนำไปใช้ให้สำเร็จและแลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่น (สมองซีกขวา) ขั้นที่8 การลงมือปฏิบัติงานให้สำเร็จและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น (สมองซีกขวา)
2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 70
3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์
เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT
อยู่ในระดับมากที่สุด
โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT
ผู้วิจัย นางสุภรัตน์ ศรีบุณยมาลา
ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์
เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการนำการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT มาใช้ในการเรียนการสอน
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 38 คน ซึ่งกำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ 3 โดยใช้
การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง การออกแบบโปรแกรม จำนวน 6 แผน ระยะเวลา 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 3 แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ได้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT จำนวน 6 แผน ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 18 ชั่วโมง ในแต่ละแผนมีขั้นตอนการเขียนแผนประกอบด้วยกิจกรรมสำหรับพัฒนาสมองทั้งสองซีกสลับกันไปรวม
8 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างประสบการณ์ (สมองซีกขวา) ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ (สมองซีกซ้าย) ขั้นที่ 3 การพัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด (สมองซีกขวา) ขั้นที่ 4 การพัฒนาเป็นทฤษฎีและความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย) ขั้นที่ 5 การปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้ (สมองซีกซ้าย) ขั้นที่ 6 การสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง (สมองซีกขวา) ขั้นที่ 7 การหาทางนำไปใช้ให้สำเร็จและแลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่น (สมองซีกซ้าย) ขั้นที่8 การลงมือปฏิบัติงานให้สำเร็จและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น (สมองซีกขวา)
2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 70
3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์
เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT
อยู่ในระดับมากที่สุด
[/blockquote]