การพัฒนาการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษการเรียนรู้ แบบ SQ4R
ผู้ศึกษา รัศมีเดือน ทับเอี่ยม
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
ผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้วิธีกาจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง(วัดตรีรัตนาราม) จังหวัดระยอง จำนวน 29 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้วิธีจับฉลากเลือกมา 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน รวม 20 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.40 – 0.57 ค่าอำนาจจำแนก (D) อยู่ระหว่าง 0.40 – 0.90 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีลักษณะข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ที่มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.62 – 0.67 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.46 – 0.63 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 และ 4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 15 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 3.196 ถึง 11.180 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 3.60 ถึง 13.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการศึกษาพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.33/88.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7866 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 78.66 3) ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.18 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.80 สรุปได้ว่าความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4) ความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.19 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 87.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.65 สรุปได้ว่าความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 5) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 79.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.16 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 131.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.60 สรุปได้ว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 5) ความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้วิธีกาจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = .06) และเมื่อพิจารณาด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = .04) รองลงมาคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = .04) และลำดับสุดท้ายคือด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = .05)