LASTEST NEWS

06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่

การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านยะหา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา
เขต ๒
ผู้ศึกษา นางอรอุมา เพ็ชรนิล
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านยะหา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒

บทคัดย่อ

        การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านยะหา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านยะหา และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านยะหา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
๑) แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๕ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๑๘ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๑๐ ข้อ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๓ โรงเรียนบ้านยะหา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ ในภาคเรียนที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๒๘ คน ที่ผู้รายงานเป็นครูผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า
    ๑. ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านยะหา มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๗.๖๑/๘๔.๔๐
    ๒. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านยะหา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าพัฒนาเฉลี่ยเท่ากับ ๑๑.๕๐ คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๔๕
    ๓. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านยะหา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๙๖ คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๒๐ อยู่ในระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะ
๑. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สามารถนำแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ไปประยุกต์ใช้เพื่อฝึกทักษะการใช้ภาษาไทย เรื่องการแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้ เพราะจากการศึกษาได้ยืนยันถึงผลของความสำเร็จในการนำไปใช้แล้วคือการมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๗.๖๑/๘๔.๔๐ ซึ่งสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ให้สูงขึ้นได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
๒. จากผลการประเมินความพึงพอใจที่พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรายการครูให้ความสนใจนักเรียนอย่างทั่วถึงขณะสอน ครูจัดกิจกรรมจากง่ายไปหายาก มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด แต่ก็ยังอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนานักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ครูผู้สอนต้องให้ความสำคัญกับนักเรียนอย่างทั่วถึง และจัดกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายากอย่างระมัดระวัง เพื่อให้นักเรียนในกลุ่มอ่อนได้ตามทันอย่างทั่วถึงกัน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^