LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์
    สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย    นางเนาวรัตน์ วิชาหาร
ปีที่ศึกษา    2558


บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเชียงเพ็งวิทยา อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จาก 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน
ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัด การเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า

        1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “EARCA Model” โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน และเงื่อนไขการนำรูปแบบการสอน ไปใช้ ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engage : E) 2) ขั้นเรียนรู้ร่วมมือปฏิบัติ (Action : A) 3) ขั้นสะท้อนความรู้มุ่งสู่ความคิด (Reflection : R) 4) ขั้นสรุปเพื่อสร้างความรู้ (Construction : C) 5) ขั้นประเมินผลค้นพบตน (Assessing : A) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.31/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะนักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนสามารถสรุปความรู้ เชื่อมโยงนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ครูมีการเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม คำถามของครูฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และมีการอภิปรายร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง




Title    The Development of Cooperative Learning Instructional Model
    to enhance the analytical thinking ability in Science subjects for
    students in Mathayomsuksa 2.     
Researcher    Naowarut    Vichahan
Academic Year    2015

ABSTRACT

    The purposes of this research were to: 1) To develop and verify the efficiency of Cooperative Learning Instructional Model to enhance the analytical thinking ability in Science subjects for students in Mathayomsuksa 2. 2) To compare learning achievement before and after learning for students in Mathayomsuksa 2 learned by Cooperative Learning Instruction Model to enhance the analytical thinking ability in Science subjects. 3) To compare ability the analyst before and after learning for students in Mathayomsuksa 2 learned by Cooperative Learning Instruction Model to enhance the analytical thinking ability in Science subjects. 4) To satisfaction students in Mathayomsuksa 2 on learning by Cooperative Learning Instruction Model to enhance the analytical thinking ability in Science subjects for students in Mathayomsuksa 2. Case study by students in Mathayomsuksa 2 Term 2 Year 2015 at Chiangpengwittaya School, Kudjab District Udon Thani from 1 classroom have 31 students by Cluster Random Sampling. The tool collects information: 1) Cooperative Learning Instructional Model to enhance the analytical thinking ability in Science subjects for students in Mathayomsuksa 2. 2) Lesson plans. 3) Learning of Science the Achievement tests. 4) The tests of their ability to the analytical thinking.
5) Questionnaire of Satisfaction of students towards learning by Cooperative Learning Instruction Model to enhance the analytical thinking ability in Science subjects for students in Mathayomsuksa 2. The data were analyzed by using Percentage average standard deviation t-test dependent and content analysis.



    The results of the study were as follows:
    1) The instructional model was called EARCA Model. The Model consisted of principles, objective, syntax, instruction, Encourages learning, Social system, Principles of reaction, Support system and set conditions of the instructional model to apply. There were 5 steps of syntax as follow. 1) Engage: E 2) Action : A 3) Reflection : R 4) Construction: C 5) Assessing : A and Cooperative Learning Instruction Model to enhance the analytical thinking ability in Science subjects for students in Mathayomsuksa 2 efficiently (    E1/E2) 85.31/82.50 which was higher than a criteria 80/80
    2) Learning achievement to before study and after study for students in Mathayomsuksa 2 learned by Cooperative Learning Instructional Model to enhance the analytical thinking ability in Science subject, mean score of after study was high more than before study. The statistical a significant level .01
    3) The analytical thinking ability for students in Mathayomsuksa 2 learned by Cooperative Learning Instruction Model to enhance the analytical thinking ability in Science subjects, mean score of after study was high more than before study. The statistical a significant level .01
    4) Satisfaction of students in Mathayomsuksa 2 towards the EARCA Model to enhance the analytical thinking ability in Science subjects was at the highest level of satisfaction, because the students practice and learned the activity by themselves, were able to apply knowledge in daily life. Teacher had compiled content and activity appropriately. Teacher’s questions helped practice the students to analytical thinking for reasonable and had discussion together between the members in the group to get the correct information.

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^