เผยแพร่ผลงานวิชาการ
ความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ไขปริศนาปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหน้าเมือง
ผู้ศึกษา นางพัชรี หลงกาสา
ปีที่ศึกษา 2559
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบปฏิบัติการตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ไขปริศนาปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบปฏิบัติการตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องไขปริศนาปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบปฏิบัติการตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ไขปริศนาปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวัดหน้าเมือง สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบปฏิบัติตามตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
เรื่องไขปริศนาปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน รวม 18 ชั่วโมง 3) ) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน แบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
4) แบบทดสอบท้ายชุดกิจกรรม จำนวน 8 ชุด ชุดละ 10 ข้อ 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบปฏิบัติการตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องไขปริศนาปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ แบบปฏิบัติการตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ไขปริศนาปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.70 / 81.66 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80 / 80 ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไขปริศนาปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.21 3) นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ แบบปฏิบัติการตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องไขปริศนาปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ
มีค่าเฉลี่ยโดยรวม ระดับมากที่สุด ( = 4.66)