การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะ
คิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นางวารุณี ปิ่นสันเทียะ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพระทองคำวิทยา อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์เผยแพร่ 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพระทองคำวิทยา การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ การสนทนากลุ่มของครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนพระทองคำวิทยา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน พระทองคำวิทยา อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะ การอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่าสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนตามเนื้อหาวิชา เน้นความรู้ความจำ นักเรียนไม่เห็นคุณค่าของการอ่าน ไม่ชอบอ่านหนังสือ โดยเฉพาะเนื้อเรื่องที่มีความยาว มากเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย และส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน ไม่สามารถคิดวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้ จึงทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยต่ำลง และขาดทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ความต้องการจะต้องพัฒนาวิธีการอ่านโดยการฝึกฝนจนเกิดทักษะสร้างนิสัยให้รักการอ่านและเป็นนักอ่านที่ดีให้แก่นักเรียน ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความคิดและประสบการณ์จากการอ่านคิดวิเคราะห์
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระหลัก และเงื่อนไขในการนำไปใช้ โดยมีขั้นตอน 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งข้อสงสัย 2) การปรับตัวสู่การเรียนรู้ 3) การอ่านและคิดตาม 4) การสร้างความเข้าใจ 5) ต้องตั้งคำถามและอภิปราย 6) การตรวจสอบ และ 7) การประเมินผลและลงข้อสรุป เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 40 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.06/81.92 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะ การอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด