รายงานการจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะ กร
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านเสวยซุง
ผู้รายงาน นางละเอียด มากล้น
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนบ้านคลองหนองเหล็ก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
รายงานการจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านเสวยซุง วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการลงความเห็น ทักษะการสื่อความหมาย ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการลงความเห็น และทักษะการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระหว่างสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 16 มีพัฒนาการที่สูงขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านเสวยซุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 48 แผน
2) แบบประเมินพัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จำนวน 5 ทักษะ การวิเคราะห์ข้อมูล1) หาค่าสถิติพื้นฐานของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างการใช้นวัตกรรมที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยชุดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2) เปรียบเทียบพัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ทักษะ ระหว่างการใช้นวัตกรรมได้รับการจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
สรุปผล
ผลการจัดประสบการณ์โดยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพโดยสรุปจากผลการประเมินที่มีพัฒนาการสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ มีความก้าวหน้าด้านทักษะกระบวนการการสังเกต คิดเป็นร้อยละ 32.20 ทักษะ การจำแนก คิดเป็นร้อยละ 36.67 ทักษะการวัด (การคาดคะเน) คิดเป็นร้อยละ 35.57 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (ทดลอง) คิดเป็นร้อยละ 37.77 และทักษะการสื่อความหมายจากข้อมูล (การสื่อสาร) คิดเป็นร้อยละ 36.67 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแผนการจัดประสบการณ์ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอระหว่างการใช้นวัตกรรมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1- 16
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานด้านทักษะการสังเกตของเด็กนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเสวยซุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1- 16 โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 16 มีความแตกต่างกันในสัปดาห์ที่ 1 ค่าเฉลี่ย ( ) = 17.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.58 และในสัปดาห์สุดท้ายมีค่าเฉลี่ย ( ) = 27.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.58 มีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 32.20 โดยนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการสังเกตหลังจากเสร็จสิ้นการจัดประสบการณ์ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างและสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยด้านทักษะการจำแนกประเภทของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเสวยซุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-16 โดยใช้ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 16 มีความแตกต่างกันในสัปดาห์ที่ 1 ค่าเฉลี่ย ( ) = 17.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.58 และในสัปดาห์สุดท้ายมีค่าเฉลี่ย ( ) = 28.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.58 มีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 36.67 โดยนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการจำแนกประเภทหลังจากเสร็จสิ้นการจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างและสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานด้านทักษะการวัด (การคาดคะเน) ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเสวยซุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-16 โดยใช้ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 16 มีความแตกต่างกันในสัปดาห์ที่ 1 ค่าเฉลี่ย ( ) = 17.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.00 และในสัปดาห์สุดท้าย มีค่าเฉลี่ย ( ) = 27.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.58 มีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 35.57 โดยนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวัด(การคาดคะเน) หลังจากเสร็จสิ้นการจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างและสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
4. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานด้านทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (ทดลอง) ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเสวยซุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-16 โดยใช้ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 16 มีความแตกต่างกันในสัปดาห์ที่ 1 ค่าเฉลี่ย ( ) = 16.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.15 และในสัปดาห์สุดท้ายมีค่าเฉลี่ย ( ) = 28.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.00 มีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 38.77 โดยนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (ทดลอง) หลังจากเสร็จสิ้นการจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างและสูงขึ้น อย่างสม่ำเสมอ
5. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานด้านทักษะการสื่อความหมายจากข้อมูล (การสื่อสาร) ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเสวยซุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-16 โดยใช้ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 16 มีความแตกต่างกันในสัปดาห์ที่ 1 ค่าเฉลี่ย ( ) = 17.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.58 และในสัปดาห์สุดท้ายมีค่าเฉลี่ย ( ) = 28.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.58 มีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 36.67 โดยนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการสื่อความหมายจากข้อมูล (การสื่อสาร) หลังจากเสร็จสิ้นการจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างและสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ