รายงานการใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง สืบสานวิถีไทยในคลอง
ผู้รายงาน นางวนิษา ผุดผ่อง
สถานศึกษา โรงเรียนวัดปรางแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สงขลา เขต 2
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง สืบสานวิถีไทยในคลองหอยโข่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง สืบสานวิถีไทยในคลองหอยโข่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง สืบสานวิถีไทยในคลองหอยโข่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดปรางแก้ว สำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษา สงขลา เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 17 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง สืบสานวิถีไทยในคลองหอยโข่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง สืบสานวิถีไทยในคลองหอยโข่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง สืบสานวิถีไทยในคลองหอยโข่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.04/83.92
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง สืบสานวิถีไทยในคลองหอยโข่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง สืบสานวิถีไทยในคลองหอยโข่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด