LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

รายงานประเมินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน
(Classroom Assessment) สู่การประเมินระดับนานาชาติ
ผู้รับผิดชอบ    นางสาวปนัดดา หัสปราบ
ตำแหน่ง    ศึกษานิเทศก์
สังกัด        สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา
ระยะเวลาการประเมินโครงการ    สิงหาคม ๒๕๕๙ – มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐

บทคัดย่อ
การประเมินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน (Classroom Assessment) สู่การประเมินระดับนานาชาติ มีวัตถุประสงค์การประเมิน คือ ๑) เพื่อประเมินปฏิกิริยาการตอบสนองของผู้เข้าประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน (Classroom Assessment) สู่การประเมินระดับนานาชาติ ๒) เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้าประชุม ๓) เพื่อประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังการประชุม และ ๔) เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงาน การประเมินใช้รูปแบบการประเมินผลโครงการตามแนวคิดแบบจำลองของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick's Four Levels of Evaluation Model) ทั้ง ๔ ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านปฏิกิริยา (Reaction), ด้านการเรียนรู้ (Learning), ด้านพฤติกรรม (Behavior) และด้านผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร (Results) การดำเนินการประเมินแบ่งออกเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ เป็นการประเมินในระหว่างดำเนินโครงการ ซึ่งมีการประเมินปฏิกิริยาและประเมินการเรียนรู้ของผู้เข้าประชุม โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน คือ ผู้เข้าประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน (Classroom Assessment) สู่การประเมินระดับนานาชาติ วันที่ ๒๖ – ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต ๑ จำนวน ๑๔๒ คน และระยะที่ ๒ เป็นการประเมินหลังจากโครงการสิ้นสุดไปแล้ว เป็นการประเมินด้านพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงหลังการประชุม และประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
    ผลการประเมินโครงการ
๑. ความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน (Classroom Assessment) สู่การประเมินระดับนานาชาติ โดยภาพรวมผู้เข้าประชุม มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๒ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมของเนื้อหาวิชา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ๓.๘๖ ด้านวิทยากรมีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๔ และด้านบรรยากาศในการประชุม มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๕
๒. การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้าประชุมระหว่างคะแนนก่อนและหลังการประชุม พบว่า คะแนนก่อนประชุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๑.๒๑ และคะแนนหลังประชุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๐.๐๖ สรุป ได้ว่าคะแนนหลังการประชุมมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนประชุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของผู้เข้าประชุม พบว่า ผู้เข้าประชุมมีคะแนนพัฒนาการหลังการประชุม สูงกว่าก่อนประชุม จากคะแนนพัฒนาการแสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าประชุมเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น โดยมีคะแนนพัฒนาการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๖๓.๑๕
๓. การติดตามเพื่อประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้เข้าประชุม พบว่า ผู้ประชุมมีพฤติกรรมการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นในภาพรวมของพฤติกรรมหลังการประชุม ผู้เข้าประชุมมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการวัดและประเมินผล มีพัฒนาการความก้าวหน้า คิดเป็น ร้อยละ ๔๘.๒๕ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ต้องเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐
๔. ผลที่เกิดขึ้นกับองค์กร การนำความรู้ที่ได้จากการประชุมไปใช้ในโรงเรียน ห้องเรียน พบว่า ในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๒๔ ส่วนด้านการนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปปรับใช้หรือพัฒนาการปฏิบัติงาน พบว่า ผู้เข้าประชุมได้นำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๑๘ และผลจากการเข้าร่วมโครงการช่วยให้ผู้เข้าประชุมปฏิบัติงานดีขึ้น คิดเป็น
ร้อยละ ๑๐๐
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^