รายงานการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าเกณฑ์ 80/80 ศึกษาผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 3) แบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
( σ )คำนวณหาประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบความแตกต่างผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ร้อยละของความก้าวหน้า ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. บทเรียนสำเร็จรูปคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพ 83.34 / 83.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วย บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการเรียนบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ เท่ากับ 13.00 คะแนน และหลังการเรียนบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 34.18 คะแนน นักเรียนทุกคนมีผลต่างของคะแนนเพิ่มขึ้น คิดเป็นค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เพิ่มขึ้น เท่ากับ 21.36 คะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละของความก้าวหน้า เท่ากับ ร้อยละ 52.41
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยรวมระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37