การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 โรงเรียนสีชมพูศึกษา
ชื่อผู้วิจัย : นายเอกชัย สาคีรี
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้ได้ตามเกณฑ์ 0.5 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสีชมพูศึกษา อำเภอพลสีชมพู จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รูปแบบการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร 2) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบการใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เวลาที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 18 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีค่าเท่ากับ 82.05/81.22 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร มีค่าเท่ากับ 0.6893 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 68.93
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ส่วนของเนื้อหา ระดับมาก 4 ด้าน โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ส่วนของรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว รองลงมา คือ ส่วนของตัวอักษร ส่วนของระบบการจัดการเนื้อหา และส่วนของโปรแกรมตามลำดับ และมีความพึงพอใจเป็นรายข้อในระดับมากที่สุด 7 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 25 ข้