รายงานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางเนาวรัตน์ วิชาหาร
ปีที่ศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเชียงเพ็งวิทยา อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จาก 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน
ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัด การเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “EARCA Model” โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน และเงื่อนไขการนำรูปแบบการสอน ไปใช้ ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engage : E) 2) ขั้นเรียนรู้ร่วมมือปฏิบัติ (Action : A) 3) ขั้นสะท้อนความรู้มุ่งสู่ความคิด (Reflection : R) 4) ขั้นสรุปเพื่อสร้างความรู้ (Construction : C) 5) ขั้นประเมินผลค้นพบตน (Assessing : A) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.31/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะนักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนสามารถสรุปความรู้ เชื่อมโยงนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ครูมีการเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม คำถามของครูฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และมีการอภิปรายร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง