การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผสมผสาน
บทคัดย่อ
คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ / การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผสมผสาน แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS)
วรัญญา มีรอด : การวิจัยเรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผสมผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS). 255 หน้า.
การวิจัยเชิงทดลอง แบบแผนการวิจัยแบบ แบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผสมผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผสมผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผสมผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 37 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยบรรยากาศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยแบบโครงงานเป็นฐานผสมผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังเรียน (Pretest-Posttest) หน่วยบรรยากาศ จำนวน 1 ฉบับเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ (Multipal Choice) ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ 3) แบบวัดเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผสมผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) จำนวน 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) การทดสอบค่าทีไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผสมผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผสมผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) เกิดพฤติกรรมในด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม สามารถนำสิ่งใกล้ตัวมาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล วิเคราะห์ ออกแบบและวางแผนการทำงานอย่างมีลำดับขั้นตอน สามารถค้นคว้าข้อมูล รวบรวมและสรุปผลข้อค้นพบด้วยตนเอง สามารถนำสิ่งที่ค้นพบนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน นักเรียนมีความกล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
3. เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผสมผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศในชั้นเรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามลำดับ
ABSTRACT
Keywords: Learning achievement/ Project-Based Learning through Science Technology and Society (STS).
Warunya Meerod : The development of science achievement of Mathayomsuksa 1 students using Project-Based Learning through Science Technology and Society (STS). 255 pp.
This research is pre-experimental with one-group pre-test post-test design. The objectives were 1) to compare science achievement of Mathayomsuksa 1 students before and after using Project-Based Learning through Science Technology and Society (STS). 2) to study behaviors the outcomes of while – learning process using Project-Based Learning through Science Technology and Society (STS). 3) to study the attitudes toward the approach of Matayomsuksa 1 students. The sample consisted of 37 students from Matayomsuksa 1/3 in the second semester of the 2015 academic year from Tasaban Wattaitalad School, Uttaradit, using simple random sampling technique with a classroom unit. The research instruments consisted of a lesson plan for the Project-based learning through science technology and society (STS), a learning achievement test, questionnaire of attitude towards taught by using Project-Based Learning through Science Technology and Society (STS). Data were analyzed by mean ( ), standard deviation ( ), t-test independent and content analysis
The results were as follows:
1. The average scores of science achievement using Project-Based Learning through Science Technology and Society (STS) in the post-test were significantly higher than pre-test scores at .05.
2. The students showed the development in learning motivation and self-directed learning as well abilities in analytical thinking, problem solving, and data collecting and conclusion making. They also were capable of working in team, sharing opinions and applying knowledge to their daily life.
3. The attitudes towards the approach of Matayomsuksa One students were at a high level.