LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน

usericon

บทคัดย่อ
    
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการสอน/แบบผสมผสาน/ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
    วรัญญา มีรอด : การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. 327 หน้า.

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบ การสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสานก่อนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน 4) นำรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปขยายผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ แบบผสมผสาน คู่มือการใช้รูปแบบ หน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ประเด็นสนทนากลุ่มความคิดเห็นของนักเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและแบบวัดความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) จุดประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) เนื้อหาและสาระ 4) กิจกรรมและขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ 5) การวัดและประเมินผล ส่วน Joyce & Weil กล่าวว่าขั้นตอนของรูปแบบ (Syntax หรือ Phases) รูปแบบปฏิสัมพันธ์ (Social System) หลักการแสดงการโต้ตอบ (Principles of Reaction) สิ่งสนับสนุนการสอน (Support System) เพื่อให้ได้รูปแบบ การสอนที่มีประสิทธิภาพ
2. รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อว่า “T-STEM Model” มีองค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ เน้นที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นเองอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการแสวงหาความรู้ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นการเรียนตามแนวทางการสอน Thinking School ผสมผสานเข้ากับการสอนแบบสะเต็มศึกษา ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยผู้เรียนมีบทบาทสำคัญ ในการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมที่เน้นการร่วมมือกันเรียนรู้ (Collaborative Learning) และการเรียนรู้ แบบกลุ่ม (Cooperative Learning) 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 3) องค์ประกอบของกระบวนการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 Thinking of challenge ขั้นที่ 2 Search for solution ขั้นที่ 3 Team building activities ขั้นที่ 4 Evaluate and Test และขั้นที่ 5 Modify and Develop 4) การวัดและประเมินผล 5 ด้าน คือ ด้านความสามารถในการระบุปัญหา ด้านความสามารถในการเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ ด้านความสามารถในการเสนอวิธีการแสวงหาความรู้ ด้านความสามารถในการบอกประโยชน์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหาและด้านความสามารถในการนำเสนอผลงาน และ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสานไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบ มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงาน ใช้สื่อการเรียนการสอนจากผลการวิจัยและกระบวนการวิจัยเป็นหลัก และสถานการณ์ปัญหาที่นำมาใช้กับนักเรียน เป็นปัญหาในชีวิตประจำวัน โดยพบว่า รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสาน (T-STEM Model) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.77/85.86
3. ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 3.1) หลังเรียนตามรูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ แบบผสมผสานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการขยายผลรูปแบบพบว่า หลังเรียนตามรูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ แบบผสมผสานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


Abstract

Keywords: development of teaching model/Blended Science Instructional/ Problem Solving
    Warunya Meerod : The development of Blended Science Instructional Model for the development of Problem Solving in Daily Substance of Sixth Grade Students. 327 pp.

The purposes of this research were to: 1) study the blended Science Instructional Model for the development of Problem Solving in Daily Substance of Sixth Grade Students. 2) develop and determine the efficiency of the blended science instructional model for the development of problem solving 3) study the effectiveness of the blended science instructional model for the development of problem solving by comparing pre-test score after using this model, and studying the satisfaction of the students toward learning by using the blended science instructional model. 4) dissemination the blended science instructional model for the development of problem solving. The samples comprised three groups including 5 experts, 5 science teachers, and 35 students from sixth grade students in the first semester of the 2015 academic year from Tasaban Wattaitalad School, Uttaradit. The research instruments were questionnaires, interview forms, lesson plans, problem-solving skills tests, Behavior forms and satisfaction forms. Data were analyzed using statistics, percentages, mean, standard deviation, t-test independent and content analysis
The result found that:
1) Blended Science Instructional Model was consisted of five elements; These are
(1) principles (2) purposes (3) contents and teaching model (4) activities and learning process (5) the assessments. The effectiveness of the Blended Science Instructional Model was at a moderate level.
2) The efficiency of the Blended Science Instructional Model for the development of Problem Solving in Daily Substance of Sixth Grade Students through T-STEM technique achieved the criteria of 85.77/85.86
3. The effectiveness of the blended science instructional model indicated that 3.1) after using the model, the student’ problem solving skills were higher than before receiving the instruction at a 0.5 significance level, and 3.2) after using the model, the students had satisfaction towards learning of the model at the highest level

4. The results of the dissemination indicated that the problem solving of students after using the blended science instructional model were significantly higher than before the instructional at a 0.5 level and students’ satisfaction towards learning of the model was at the highest level.





ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^