LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการปฏิบัติทรัมเป็ต

usericon


ชื่อเรื่อง         การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการปฏิบัติทรัมเป็ต

วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัด ศ20255 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน     นายสิงหา สื่อกลาง
อาจารย์ที่ปรึกษา 1. ผศ.ดร.นิคม ศรีรักษ์สูงเนิน อาจารย์ประจำภาควิชาดนตรี คณะมนุษย์ศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
2. ผศ.ธงรบ ขุนสงคราม อาจารย์ประจำภาควิชาดนตรี คณะมนุษย์ศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
3. ดร.ปิยวัฒน์ เพชรศรี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 32
4. นายนันทภพ หมั่นกิจ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 32
5. นายนายสาระกิจ ศรีรังxxxร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสวายจีกพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 32

บทคัดย่อ

    การจัดกิจกรรมการเรียนวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัดในระดับมัธยมศึกษา ยังขาดสื่อการสอนที่เป็นแบบฝึกทักษะในการปฏิบัติเครื่องดนตรีที่พอเพียงและหลากหลาย การพัฒนาแบบฝึกทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรี มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีแบบฝึกทักษะเป็นแนวในการปฏิบัติเครื่องดนตรี สามารถแสวงหาความรู้โดยการฝึกฝนจากผู้สอนและฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรีกลุ่มวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัด ศ20255 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดแบบฝึกทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรี กลุ่มวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัด ศ20255 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการบรรเลงเครื่องดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรี ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้กลุ่มวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนที่เลือกเรียนรู้กลุ่มวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัดนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำนวน 30 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling )
    เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานศึกษาครั้งนี้คือแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัด(ดนตรี) ศ20255 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 แผนการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะการบรรเลงทรัมเป็ต จำนวน 34 แบบฝึก แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) อยู่ระหว่าง 0.25 ถึง 0.80 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 แบบประเมินทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรีแบบรูบิคสกอร์ จำนวน 4 รายการมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเกณฑ์การประเมินความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีกับระดับคะแนนความสามารถของนักเรียนเท่ากับ 0.95 แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อการเรียน วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรี เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ( rxy ) อยู่ระหว่าง 0. 20 ถึง 0.52 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจ (α) เท่ากับ 0.81 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติทดสอบมุติฐาน t-test

     ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฎดังนี้

    ผลการพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะทรัมเป็ต วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนางรอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 ปรากฏดังนี้
1.    การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะทรัมเป็ต วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล
ตามความถนัด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.14/87.05
2. การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะทรัมเป็ต วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล
ตามความถนัด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7906 หมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 79.06
3. นักเรียนที่เรียนรู้วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการบรรเลงดนตรี มีทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
4. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรี มีความพึงพอใจในการเรียนมีอยู่ระหว่าง 3.11 – 4.57 ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ 4.01 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

ดังนั้นการพัฒนาแบบฝึกทักษะการบรรเลงทรัมเป็ต วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพและมีดัชนีประสิทธิผลเหมาะสม มีประโยชน์
ต่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างดี และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม เป็นสื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติตามให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของการเรียน พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ มีคุณภาพ เป็นเยาวชนที่ดีของชาติต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^