การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติ
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา เรวดี มูสิกะอุปถัมภ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล)
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาหนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติ
เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนที่กำลังเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) หนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการใช้หนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าคะแนน
เฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบในหนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 6 ชุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 49.50 คิดเป็นร้อย 82.50 และมีคะแนนจากการทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.26 คิดเป็นร้อยละ 81.32 สรุปได้ว่า หนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.50/81.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (80/80)
2. การหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือกึ่งของเล่น
คณิตศาสตร์สามมิติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6836 หมายความว่า นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความก้าวหน้าทางการเรียน คือ มีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 68.36
3. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงรียน
เทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) ที่ได้รับการเรียนการสอนด้วยหนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือกึ่งของเล่นคณิตศาสตร์สามมิติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32