LASTEST NEWS

01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 

การพัฒนารูปแบบการจัดการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน
เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย        นางเรวดี มูสิกะอุปถัมภ์
หน่วยงาน    โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) เทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ปีการศึกษา     2559

บทคัดย่อ

        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลินเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์เอกสาร รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินรูปแบบการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ผลการศึกษาปัจจัยในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่นักเรียนต้องการพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณ เพราะนักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการคิดคำนวณมากขึ้น บรรยากาศในการเรียนสนุกสนาน นักเรียนได้เรียนรวมกลุ่มกับเพื่อนได้ทำ กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมทุกคน และนักเรียนสามารถนำความรู้ไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
        2 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 76.86/75.00 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 80.72/80.56 และจากการทดลองภาคสนามประสิทธิภาพของการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณมีค่า เท่ากับ 81.04/80.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
        3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลินเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 34 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ 83.73/82.07 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลิน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการเรียนรู้ได้และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด 6T ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความเพลินเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณและความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^