การเปรียบเทียบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด พลเมืองดีในวิถีสังค
โดยใช้หนังสือเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแก่นวิทยา จังหวัดเชียงราย
ชื่อผู้วิจัย : นายอินทนง จันตา
ปีที่วิจัย : 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด พลเมืองดีในวิถีสังคมไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแก่นวิทยา อำเภอเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของประชากรกลุ่มทดลอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด พลเมืองดีในวิถีสังคมไทย และวิธีสอนโดยใช้หนังสือเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด พลเมืองดีในวิถีสังคมไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านแก่นวิทยา อำเภอเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 คน เป็นกลุ่มทดลองและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 คน ของโรงเรียนบ้านเกี๋ยง อำเภอเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 เป็นกลุ่มควบคุม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด พลเมืองดีในวิถีสังคมไทย จำนวน 13 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ แผนการเรียนรู้ของกลุ่มทดลอง จำนวน 1 เล่ม และกลุ่มควบคุม จำนวน 1 เล่ม แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด พลเมืองดีในวิถีสังคมไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย การทดสอบก่อนเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด พลเมืองดีในวิถีสังคมไทย ในกลุ่มทดลอง จำนวน 13 เล่ม และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือเรียน ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและทดสอบหลังเรียน สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มทดลอง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของนวัตกรรมค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด พลเมืองดีในวิถีสังคมไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จำนวน 13 เล่ม โดยใช้กับประชากรกลุ่มทดลอง โดยภาพรวมนวัตกรรมมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ 80/80 ได้ประสิทธิภาพเท่ากับ 86.50/92.08
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มทดลองโดย การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด พลเมืองดีในวิถีสังคมไทย และกลุ่มควบคุม โดยการใช้หนังสือเรียน มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลอง สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนของกลุ่มควบคุม
ผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มทดลอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 คน ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด พลเมืองดีในวิถีสังคมไทย โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด