รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียน รู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้แนวปฏิบัติ และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่องการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาดในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาดในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาดในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาด ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนวัดด่างช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียน เป็นหน่วยการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาดในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาดในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาทดลองสอนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาด ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.26/88.96 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาด ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8415 หรือร้อยละ 84.15
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาดในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
( อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 )
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาดในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุปการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาดในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในระดับที่ดีและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนดไว้สามารถนำเอกสารประกอบการเรียนไปใช้เพื่อส่งเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการเอาใจใส่ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อที่ระบาดในท้องถิ่นให้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดด่างช้าง ได้ดียิ่งขึ้น