LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจฯ

usericon

ชื่อเรื่อง การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี
ผู้วิจัย         นายสุบิน ผลอนุรักษ์วงศ์
ปีที่ทำการวิจัย     2560

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของครูใน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงานและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการจัดการศึกษาของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี การวิจัย มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู กศน. และ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 146 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.38-0.86 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98
    ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี กลุ่มที่ตอบแบบสัมภาษณ์ ได้แก่ 1) ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไปโดยวิธีเจาะจง จำนวน 5 คน 2) ผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ จำนวน 6 คน ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ หรือผู้มีความรู้ความสามารถในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรีได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี โดยการนำปัญหาในรายการในแต่ละด้านของการสรุปปัญหาในระยะที่ 1 กำหนดเป็นประเด็นในการสนทนา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเมื่อพบความแตกต่าง ทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีเซฟเฟ่
ผลการวิจัย
    1. ระดับปัญหาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางโดยด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านการจัดกิจการกรรมพัฒนาผู้เรียน รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารการจัดการสถานศึกษา (x ̅= 3.10 ; S.D.0.99) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (x ̅= 3.09 ; S.D. 0.98) โดย และด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา (x ̅ = 3.06 ; S.D.1.11) ตามลำดับ
    2. ผลการเปรียบเทียบระดับปัญหาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกัน
    3. แนวทางการแก้ปัญหาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี ดังนี้
    3.1 ด้านการบริหารการจัดการสถานศึกษา ควรมีการจัดทำแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    3.2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ควรให้มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
    3.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรจัดกิจกรรม โครงการที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างครู ผู้เรียน และชุมชน
    3.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรสถานศึกษา ควรจัดให้มีการศึกษาดูงาน แหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^