: รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน¬ หน่วย มหัศจรรย์แห่งกล้วย
ปีการศึกษา : 2559
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนหน่วย มหัศจรรย์แห่งกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน หน่วย มหัศจรรย์แห่งกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่กา¬รศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน หน่วย มหัศจรรย์แห่งกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่กา¬รศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ได้ทำการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน โดยใช้เกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E 2) 80/80 วิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน หน่วย มหัศจรรย์แห่งกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้¬การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 มีค่าประสิทธิภาพรวมเท่ากับ 89.59/90.06 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน จากการใช้เอกสารประกอบการเรียนหน่วย มหัศจรรย์แห่งกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่กา¬รศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.90 ( = 15.27,S.D.= 1.50) หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 90.07 ( = 27.62,S.D.= 1.93) ซึ่งคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 39.17 และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน หน่วย มหัศจรรย์แห่งกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่กา¬รศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด(X=4.78, S.D.= 0.50)