ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกา
ผู้ศึกษา นางสาวประภาภรณ์ บุญตัน
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง งานและพลังงาน ตามเกณฑ์มาตรฐานตั้งไว้คือ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ การแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง งานและพลังงาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง งานและพลังงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560โรงเรียน บ้านกาดวิทยาคม อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 มีจำนวน 1 ห้อนเรียน นักเรียนจำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง งานและพลังงาน 2) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง งานและพลังงาน จำนวน 7 เล่ม 3)แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์เรื่อง งานและพลังงาน 4)แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง งานและพลังงาน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน()
สรุปได้ว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง งานและพลังงาน เท่ากับ 87.29/83.92 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงาน หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนเฉลี่ยจากเดิมร้อยละ 34.57 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83.86 คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 49.31
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง งานและพลังงาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (µ =4.34, =0.59)